วันนี้มาแนวไอทีหน่อย (เราทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์นะ!)
จริงๆ ช่วงนี้เราได้รันโปรเจคโดยใช้ PHP Framework ของ Codeigniter
ประเด็นของเอนทรี่มันเกิดขึ้นจากการที่เราอยากใช้ PHP Library อันนึงมาก
เราพบว่าถ้าติดตั้งด้วย Composer สะดวกกว่า แต่ทว่า ถ้าเป็น Pure PHP ก็คงง่าย แต่กับ Codeigniter ล่ะ?
Composer คือเครื่องมือสำหรับ dependency management ในภาษา PHP (งงมั้ย?) เอาง่ายๆ มันเป็นตัวจัดการที่ประกาศว่าโปรเจคของคุณใช้ Libraries อะไรบ้าง แล้วมันจะทำการจัดการติดตั้งอัพเดทให้คุณเอง(!) แต่ช้าก่อนมัน ไม่ใช่ Package Manager เหมือนพวก Yum หรือ Apt เวลาติดตั้ง Libraries มันถูกโยนเข้าไปที่ Directory (เช่น vendor) ในโปรเจคของคุณ
อธิบายพอเข้าใจแล้ว รายละเอียดสามารถไปอ่านต่อที่ https://getcomposer.org/doc/00-intro.md
เอาล่ะ เรามาใช้ Composer กันเถอะ
1. ต้องติดตั้งตัว Composer ที่เซิฟเวอร์ของเราก่อน (วิธีการติดตั้งหาได้จากเว็บตัว Composer เอง)
2. ต่อมาใน Root Directory ของเรา ให้สร้างไฟล์ที่ชื่อว่า Composer.json และทำการประกาศว่าเราจะใช้ Libraries อะไร เช่น
“require”: {
“solarium/solarium”: “^3.6”
},
ทั้งนี้เราสามารถโหลดหลาย Libraries โดยการเติม , ตามด้วยชื่อต่อไป
- ต่อมาให้เรารันคำสั่ง Composer ที่ Root Directory
php composer.phar install
แต่ถ้าติดตั้ง composer แบบ Global ไว้เปลี่ยนมารันคำสั่งที่ Root directory
php composer install
- เอาล่ะ หลังจากที่ libraries ของเราได้ถูกติดตั้งลง vendor แล้วให้เราเปิดไฟล์ index.php ที่ Root directory ของโปรเจคขึ้นมา แล้วเติมคำสั่งนี้ ก่อนหน้า
require_once BASEPATH.’core/CodeIgniter.php’;
include_once ‘./vendor/autoload.php’;
เสร็จสิ้นการใช้ Composer แล้ว \o/
วิธีการใช้ ก็ง่ายดายมาก เราสามารถเรียกใช้งาน Class ได้ทันที เช่น
<?php defined(‘BASEPATH’) OR exit(‘No direct script access allowed’);
class S extends MY_Controller{
public function index(){
$client = new Solarium\Client($config);
}}
นอกจากนี้เรายังสามารถประยุกต์ไปใช้เป็น Libraries ของ Codeigniter ได้อีกด้วย! เซลาวี่
ขอบคุณเอนทรี่ที่แนะนำวิธีนี้ขึ้นมา > https://arjunphp.com/how-to-use-composer-with-codeigniter/